เกี่ยวกับอาเซียน



คำขวัญของอาเซียน
"One Vision, One Identity, One Community"
" หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม "


ความหมายของสัญลักษณ์อาเซียน
- ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
- สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
- สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
- สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
- สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

                                      ความเป็นมาเพลงอาเซียน
               1.จุดเริ่มต้นของความคิดในการมีเพลงประจำอาเซียนเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากการหารือในที่ประชุม อาเซียนทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ (ชื่อทางการคือคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรม และสนเทศ) ครั้งที่ 29 ในเดือนมิถุนายน ปี 2537 ซึ่งในครั้งนั้นที่ประชุม มีความเห็นตรงกันว่า อาเซียนควรจะมีเพลงประจำอาเซียน โดยกำหนดจะให้เปิดเพลงประจำอาเซียนในช่วงของการจัด กิจกรรมต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ ทั้งนี้ในเรื่องการสนับสนุนด้านการเงินที่ประชุมตกลง ให้ใช้เงินจากกองทุนวัฒนธรรมอาเซียนเพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการเพื่อคัด เลือกเพลงประจำอาเซียน
               2.ต่อมาในการประชุม ครั้งที่ 32 ของคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศในเดือนพฤษภาคม ปี 2540 ที่ประเทศมาเลเซีย ได้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกเพลงในรอบสุดท้าย โดยเพลงที่เข้ารอบในครั้งนั้นเป็นเพลงจากไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ และเพลง ASEAN Song of Unity หรือ ASEAN Oh ASEAN จากฟิลิปปินส์ได้รับรางวัลชนะเลิศ อย่างไรก็ดี เพลงดังกล่าวไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศสมาชิกอาเซียน เนื่องจากใช้เปิดเฉพาะในการ ประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
               3.ด้วยเหตุนี้ทำให้ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่มาเลเซีย และที่สิงคโปร์ ประเทศที่เป็นเจ้าภาพ การประชุมจึงได้แต่งเพลงเพื่อใช้เปิดในที่ประชุม โดยมาเลเซียแต่งเพลง “ASEAN Our Way” และสิงคโปร์แต่งเพลง "Rise"



                 บทบาทของไทยกับการจัดทำเพลงประจำอาเซียน
               4.การจัดทำเพลงประจำอาเซียนเป็นการดำเนินการตามกฎบัตรอาเซียนโดย ข้อบทที่ 40 ระบุให้ อาเซียนมีเพลงประจำอาเซียนโดยหากเป็นไปได้ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนการให้ สัตยาบันกฎบัตร อาเซียนและการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14
               5.ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเพลง ประจำอาเซียน โดยที่ประชุมประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้กำหนดรูปแบบการแข่งขันเป็น open competition โดยให้สำนักเลขานุการอาเซียนในแต่ละประเทศกลั่นกรองคุณสมบัติเบื้องต้น และจัดส่งให้ประเทศไทยภายในเดือนกันยายน 2551 โดยเนื้อร้องต้องมีเกณฑ์ ดังนี้ คือ (1) เป็นภาษาอังกฤษ (2) มีลักษณะเป็นเพลงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน (3) มีความยาวไม่เกิน 1 นาที (4) เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนและความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและเชื้อชาติ (5) เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 2 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ
               6.ในส่วนของการคัดเลือกเพลงในประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดการประชุมคณะกรรมการ ตัดสินเพื่อคัดเลือกเพลงภายในประเทศขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2551 โดยมีเพลงจำนวน11เพลง ที่ผ่านเกณฑ์ และประเทศไทยได้ส่งเพลงดังกล่าวเข้าร่วมการประกวดแข่งขันในระดับภูมิภาคอาเซียน
              
7.ในระดับภูมิภาคอาเซียน กรมอาเซียน ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดแข่งขันเพลงประจำอาเซียน ในระดับภูมิภาค รอบแรก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2551 ที่โรงแรม Pullman Bangkok King Power โดยมีกรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ 1 คน ในส่วนของไทย ฯพณฯ องคมนตรี พล.ร.อ. อัศนี ปราโมช ได้ให้เกียรติรับเป็นกรรมการฝ่ายไทยโดยทำหน้าที่ประธานการประชุมคัดเลือกเพลงและได้คัดเลือกเพลงจำนวน 10 เพลง จากที่ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 99 เพลง รอบตัดสิน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ประกอบด้วยกรรมการจากอาเซียน 10 คนเดิม และจากนอก อาเซียนอีก 3 คน ได้แก่จากญี่ปุ่น จีน และออสเตรเลียร่วมตัดสินด้วย ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือก เพลง ASEAN Way ของไทยที่แต่งโดย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและ เรียบเรียง) นายสำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และนางพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) ให้เป็นเพลงประจำอาเซียน
               8.กรมอาเซียนได้เป็นเจ้าภาพจัดงานเปิดตัวเพลงประจำอาเซียนเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ณ โรงละครอักษรา โดยมีวงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลงเพลง ASEAN Anthem และเพลงยอดนิยม จากประเทศสมาชิกอาเซียน ในส่วนของไทยได้บรรเลงเพลง ลาวดวงเดือนโดยได้มีแขกผู้มี เกียรติจากส่วนราชการต่างๆ คณะทูต ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน กว่า 500 คน มาร่วมงาน ทั้งนี้เพลงประจำอาเซียนจะใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่หัวหิน
                                     ความสำคัญของเพลงประจำอาเซียน

               9.การมีเพลงอาเซียน ถือว่ามีความสำคัญต่ออาเซียนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก นับจากนี้ไปอาเซียนจะมีเพลงประจำอาเซียนซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของอาเซียนในการเชื่อมโยงอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้การได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดแข่งขันครั้งนี้ รวมทั้งการที่เพลงจากไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเพลงประจำอาเซียน ถือเป็นเกียรติภูมิของประเทศและแสดงถึงความสามารถของคนไทยด้วย

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น